วัดขุนอินทประมูล

พระพุทธไสยาสน์เก่แก่ขนาดใหญ่ มีความยาว 50 เมตร

วัดขุนอินทประมูล

โบสถ์ไฮเทค ภายในประกอบด้วยบรรไดเลื่อและลิฟต์ พร้อมทั้งมีจตกรรมฝาผนังที่สวยงาม

วัดขุนอินทประมูล

พระประธานภายในพระอุโบสถ

วัดขุนอินทประมูล

ช่างกำลังวาดจิตกรรมฝาผนังของพระอุโบสถ ซึ่งเราสามารถนำภาพของเราวาดติดผนังได้

วัดขุนอินทประมูล

วิหารเก่าซึ่งภายในมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่

วันจันทร์ที่ ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๓

ประวัติพระพุทธรูปวัดสี่ร้อย




เนื่องจากได้พาครอบครัวไปไหว้พระขอพรที่วัดสี่ร้อย ตำบลสี่ร้อย อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง ซึ่งเป็นพระพุุทธรูปปางป่าลิไลย์ขนาดใหญ่ ซึ่งเป็นที่นับถือของบุคคลในพื้นที่และบุคคลต่างถิ่นมาเป็นเวลาช้านานโดยประวัติของพระพุทธรูปมีดังนี้
พระปลัดบุญ เจ้าอาวาสวัดสี่ร้อย หลวงพ่อปั้น เจ้าอาวาสวัดพิกุล อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้รับการสนับสนุนจากชาวบ้านได้ร่วมกันก่อสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ปางป่าลิไลย์ เพื่อให้ชาวบ้านกราบไหว้บูชาเริ่มดำเนินการสร้างปี พ.ศ. ๒๔๕๖ ถึง พ.ศ. ๒๔๗๑ เป็นระยะเวลา ๑๕ ปี ทำพิธีพุทธาภิเษก ยกรัศมีเบิกพระเนตรติดอุณาโลม พ.ศ. ๒๔๗๕ รวมการก่อสร้างแล้วเสร็จ ๑๙ ปี

ที่มา จากแผ่นป้ายที่ติดบริเวณองค์หลวงพ่อ

วันจันทร์ที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๒

วัดถนน ตำบลโผงเผง อำเภอป่าโมก






วัดถนน เป็นวัดที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ของตำบลโผงเผง อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง เป็นวัดที่สร้างในราวสมัยกรุงธนบุรี ภายในวัดมีพระพุทธรูปแกะด้วยไม้องค์ยืน สูงประมาณ 2 เมตร นามว่า "หลวงพ่อพุทธรำพึง" ซึ่งเป็นที่ศรัทธาของประชาชน คนที่มากราบไหว้บูชาเสี่ยงโชค ขอพรให้ตั้งไข่ที่หน้าหลวงพ่อถ้าใครตั้งไข่ได้แสดงว่ามีโชคลาภ ดวงดี ถ้าใครตั้งไข่ไม่ได้ ก็แสดงว่าไม่มีดวง ถ้าจะแก้บนสิ่งที่ทำนายคือให้แก้บนด้วยไข่ต้ม ละครและพวงมาลัย นอกจากนี้ยังมีสิ่งที่น่าสนใจภายในวัดนี้อีกคือรอยพระพุทธบาทลอยฟ้า ซึ่งแกะสลักด้วยไม้ติดอยู่บนเพดานศาลาการเปรียญมีขนาดกว้าง 30 นิ้ว ยาว 70 นิ้ว อายุกว่าร้อยปี


วันพฤหัสบดีที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๒

วิหารหลวงพ่อสด




เนื่องจากได้มีโอกาสได้เที่ยวชมวิหารหลวงพ่อสด ซึ่งตั้งอยู่ใกล้วัดจันทรังสี ซึ่งภายในวัดมีการสร้างรูปหล่อหลวงพ่อสดวัดปากน้ำขนาดใหญ่ พร้อมวิหารครอบที่สวยงาม มีการจัดบริเวณที่มีความสวยงามร่มรื่น ถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดอ่างทอง

วันจันทร์ที่ ๑๓ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๒

นางสงกรานต์

เมื่อถึงวันสงกรานต์ในแต่ละปีจะมีการบอกชื่อของนางสงกรานต์ที่เกิดขึ้นในแต่ละปีจะมีชื่อที่เปลี่ยนแปลงไปไม่เหมือนกัน จึงทำให้เกิดความสงสัยถึงชื่อของนางสงกรานต์ที่เกิดขึ้นนี้ได้มาอย่างไร ถ้าท่านผู้ที่ต้องการรู้มีความสนใจก็สามารถที่จะศึกษาดูได้



นางสงกรานต์ เป็นคติความเชื่ออยู่ในตำนานสงกรานต์ อันเป็นเรื่องเล่าถึงความเป็นมาของประเพณีดังกล่าว เป็นอุบายเพื่อให้คนโบราณได้รู้ว่าวันมหาสงกรานต์ คือ วันที่พระอาทิตย์ยกขึ้นสู่ราศีเมษ ซึ่งสมัยนั้นถือเป็นการเถลิงศกใหม่ หรือวันขึ้นปีใหม่ตามสุริยคติตรงกับวันใด โดยสมมุติผ่านนางสงกรานต์ทั้งเจ็ดเทียบกับแต่ละวันในสัปดาห์ ปีไหนตรงกับวันใด นางสงกรานต์ที่มีชื่อสมมุติเข้ากับวันนั้นๆก็จะเป็นผู้อัญเชิญพระเศียร ท้าวกบิลพรหมออกแห่ไปสรงน้ำ ซึ่งนางสงกรานต์ทั้งเจ็ดนี้ เป็นเทพธิดาลูกสาวท้าวกบิลพรหม และเป็นบาทบริจาริกาของพระอินทร์ จากตำนานเล่าถึงท้าวกบิลพรหมแพ้พนันธรรมบาลกุมาร ต้องตัดเศียรออกบูชาธรรมบาลกุมารตามสัญญา แต่เนื่องจากพระเศียรของพระองค์ตกไปอยู่ที่ใด ก็จะเป็นอันตรายต่อที่นั้นไม่ว่าจะเป็นบนอากาศ บนดินหรือในน้ำ ดังนั้น ธิดาทั้งเจ็ดจึงต้องนำพานมารองรับ และนำไปประดิษฐานไว้ในถ้ำคันธชุลี ณ เขาไกรลาส ครั้นถึงกำหนด ๓๖๕ วัน ซึ่งโลกสมมุติว่าเป็นปีหนึ่งเวียนมาถึงวันมหาสงกรานต์ เทพธิดาทั้งเจ็ดก็จะทรงพาหนะต่างๆผลัดเวรกันมาเชิญพระเศียรของบิดาออกแห่ โดยที่เทพธิดาทั้งเจ็ดนี้ปรากฏในวันมหาสงกรานต์เป็นประจำ จึงได้ชื่อว่า “นางสงกรานต์” ส่วนท้าวกบิลพรหมนั้น โดยนัยก็คือ พระอาทิตย์ นั่นเอง เพราะกบิล หมายถึง สีแดง นอกจากตำนานข้างต้น ยังมีเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับนางสงกรานต์ที่กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม จะขอนำมาเล่าให้ฟังเพิ่มเติมดังนี้

นางสงกรานต์ของแต่ละวัน จะมีนาม อาหาร อาวุธ และสัตว์ที่เป็นพาหนะ ต่างๆ กันดังต่อไปนี้


วันอาทิตย์ ชื่อ ทุงษ
ทัดดอกทับทิม เครื่องประดับปัทมราค ภักษาหารผลมะเดื่อ อาวุธขวาจักร ซ้ายสังข์ พาหนะครุฑ

วันจันทร์ ชื่อ โคราค

ทัดดอกปีบ เครื่องประดับมุกดา ภักษาหารน้ำมัน อาวุธขวาพระขรรค์ ซ้ายไม้เท้า พาหนะเสือ

วันอังคาร ชื่อ รากษส
ทัดดอกบัวหลวง เครื่องประดับโมรา ภักษาหารโลหิต อาวุธขวา ตรีศูล ซ้ายธนู พาหนะสุกร

วันพุธ ชื่อ มัณฑา
ทัดดอกจำปา เครื่องประดับไพฑูรย์ ภักษาหารนมเนย อาวุธขวาเข็ม ซ้ายไม้เท้า พาหนะลา

วันพฤหัสบดี ชื่อ กิริณี
ทัดดอกมณฑา เครื่องประดับมรกต ภักษาหารถั่วงา อาวุธขวาขอ ซ้ายปืน พาหนะช้าง

วันศุกร์ ชื่อ กิมิทา

ทัดดอกจงกลนี เครื่องประดับบุษราคัม ภักษาหารกล้วยน้ำว้า อาวุธขวาพระขรรค์ ซ้ายพิณ พาหนะกระบือ

วันเสาร์ ชื่อ มโหทร
ทัดดอกสามหาว เครื่องประดับนิลรัตน์ ภักษาหารเนื้อทราย อาวุธขวาจักร ซ้ายตรีศูล พาหนะนกยูง


ที่มา http://www.songkran.net/th/lady.php


ประวัติประเพณีสงกรานต์

สืบเนื่องจากประเพณีสงกรานต์เป็นประเพณีที่มีการยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมาเป็นเวลานาน แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่าประเพณีสงกรานต์มีประวัติความเป็นมาอย่างไร จึงทำให้ข้าพเจ้าเกิดความสนใจที่จะค้นหาความรู้ในเรื่องนี้และเพื่อไม่ใ้ห้เกิดการลืมเลือนจึงได้นำเสนอไว้เพื่อที่จะได้ให้ผู้ที่มีความสนใจเข้ามาดูเพื่อที่จะเป็นประโยชน์ต่อไป

ประเพณีสงกรานต์ถือเป็นวันขึ้น ปีใหม่ของไทย ซึ่งยึดถือปฏิบัติสืบเนื่องกันมาแต่โบราณ และเป็นวัฒนธรรมประจำชาติที่งดงามฝังลึกอยู่ในชีวิตของคนคำว่า “สงกรานต์” มาจากภาษาสันสกฤต แปลว่า ผ่านหรือเคลื่อนย้าย หมายถึง การเคลื่อนไทยมาช้านาน

การย้ายของพระอาทิตย์เข้าไปจักรราศีใดราศีหนึ่ง จะเป็นราศีใดก็ได้ แต่ความหมายที่คนไทยทั่วไปใช้ หมายเฉพาะวันและเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษในเดือนเมษายนเท่า นั้น

ตำนานเกี่ยวกับกำเนิดวันสงกรานต์

กล่าวไว้ว่า ก่อนพุทธกาลมีเศรษฐีครอบครัวหนึ่ง อายุเลยวัยกลางคนก็ยังไร้ทายาทสืบสกุล ซึ่งทำให้ท่านเศรษฐีทุกข์ใจเป็นอันมาก ข้างรั้วบ้านเศรษฐีมีครอบครัวหนึ่ง หัวหน้าครอบครัวเป็นนักเลงสุรา ถ้าวันไหนร่ำสุราสุดขีด ก็จะพูดเสียงดังแสดงวาจาเยาะเย้ยเศรษฐีสบประมาทในความมีทรัพย์มาก แต่ไร้ทายาทสืบสมบัติเสมอ วันหนึ่งเศรษฐีจึงถามว่ามีความขุ่นเคืองอะไรจึงแสดงอาการเยาะเย้ยและสบ ประมาท เฒ่านักดื่มจึงตอบ ถึงท่านมั่งมีสมบัติมากก็จริง แต่เป็นคนมีบาปกรรมท่านจึงไม่มีบุตร ตายไปแล้วสมบัติก็ตกเป็นของผู้อื่นหมด สู้เราไม่ได้ถึงแม้จะยากจนแต่ก็มีบุตรคอยดูแลรักษายามเจ็บไข้ และรักษาทรัพย์สมบัติเมื่อเราสิ้นใจนับแต่นั้นมา เศรษฐียิ่งมีความเสียใจ จึงพยายามไปบวงสรวงพระอาทิตย์และพระจันทร์ เพียรพยายามตั้งจิตอธิษฐานขอบุตร ทำเช่นนี้เป็นเวลาติดต่อกันถึงสามปี ก็ไม่ได้บุตรดังที่ตนปรารถนาจนวันหนึ่งเป็นวันนักขัตฤกษ์สงกรานต์ ท่านเศรษฐีก็พาข้าทาสบริวารของตนมาที่โคนต้นไทรใหญ่ต้นหนึ่ง ที่อยู่บนฝั่งแม่น้ำที่อาศัยของนกทั้งหลาย ท่านเศรษฐีให้บริวารล้างข้าวสารด้วยน้ำสะอาดถึง 7 ครั้ง แล้วจึงหุงข้าวสารนั้น เมื่อสุกแล้วยกขึ้นบูชาพระไทร เทพเหล่านั้นเกิดความสงสาร จึงขึ้นไปเฝ้าพระอินทร์ ทูลขอบุตรแก่เศรษฐี พระอินทร์จึงบัญชาให้เทพบุตรองค์หนึ่งชื่อ “ธรรมบาล” ลงมาเกิดในครรภ์ของภรรยาเศรษฐี เมื่อครบกำหนดภรรยาเศรษฐีก็คลอดบุตรเป็นชาย เศรษฐีจึงตั้งชื่อว่า ธรรมบาลกุมาร เพื่อตอบสนองพระคุณเทพเทวา เศรษฐีจึงสร้างปราสาทสูง 7 ชั้น ถวายเทพต้นไทร
เมื่อธรรมบาลกุมารเจริญวัยขึ้น เป็นเด็กที่มีปัญญาเฉียบแหลม รอบรู้ และวัยเพียง 7 ขวบก็เรียนจบไตรเพท ยังมีเทพองค์หนึ่งชื่อ “ท้าวกบิลพรหม” ได้ยินกิตติศัพท์ทางสติปัญญาอันยอดเยี่ยมของเด็กน้อย จึงคิดทดลองภูมิปัญญาโดยการเอาชีวิตเป็นเดิมพันจึงถามปัญหา 3 ข้อ ถ้ากุมารน้อยแก้ปัญหาทั้ง 3 ข้อได้ กบิลพรหมจะตัดศีรษะของตนบูชา ถ้าธรรมบาลแก้ไม่ได้ ก็จะต้องเสียหัวเพื่อยอมรับความพ่ายแพ้ ปัญหานั้นมีว่า

1. ตอนเช้าราศีคนอยู่แห่งใด
2. ตอนเที่ยงราศีของคนอยู่แห่งใด
3. ตอนค่ำราศีของคนอยู่แห่งใด

เมื่อได้ฟังปัญหาแล้ว ธรรมบาลไม่อาจทราบคำตอบในทันทีได้ จึงผลัดวันตอบปัญหาไปอีก 7 วัน ครั้นเวลาล่วงจากนั้นไป 6 วัน ธรรมบาลกุมารก็ยังคิดหาคำตอบปัญหานั้นไม่ได้ จึงหลบออกจากปราสาทหนีเข้าป่า และไปนอนพักเอาแรงใต้ต้นตาล ขณะนั้นบนต้นตาลมีนกอินทรีคู่หนึ่งอาศัยอยู่ นางนกถามสามีว่า “พรุ่งนี้เราจะไปหาอาหารที่ไหน” นกสามีก็ตอบว่า “พรุ่งนี้เราไม่ต้องบินไปไกล เพราะจะได้กินเนื้อธรรมบาลกุมาร ซึ่งจะถูกท้าวกบิลพรหมตัดหัว เนื่องจากแก้ปัญหาไม่ได้” นางนกถามว่า “ปัญหานั้นว่าอย่างไร” นกสามีตอบว่า ปัญหามีอยู่ 3 ข้อ และหมายถึง

ข้อหนึ่ง ตอนเช้าราศีของมนุษย์อยู่ที่หน้า คนจึงต้องล้างหน้าทุกๆ เช้า
ข้อสอง ตอนเที่ยงราศีคนอยู่ที่อก มนุษย์จึงต้องเอาเครื่องหอมประพรมที่อก
ข้อสาม ตอนค่ำราศีคนอยู่ที่เท้า มนุษย์จึงต้องล้างเท้าก่อนเข้านอน

ธรรมบาลกุมาร ได้ยินการไขปัญหาของนกอินทรี และจำจนขึ้นใจ ทั้งนี้เพราะธรรมบาลรู้ภาษานก จึงกลับสู่ปราสาทอันเป็นที่อยู่แห่งตน รุ่งขึ้นเป็นวันครบกำหนดแก้ปัญหา ท้าวกบิลพรหมมาฟังคำตอบ ธรรมบาลกุมารกล่าวแก้ปัญหาตามที่นกอินทรีคุยกันทุกประการ ท้าวกบิลพรหมจึงเรียก ธิดาทั้ง 7 ของตนอันเป็นบริจาริกาคือหญิงรับใช้ของพระอินทร์มาพร้อมกัน แล้วบอกว่าตนจะตัดเศียรบูชาธรรมบาลกุมาร แต่ถ้าเอาศีรษะพ่อวางไว้บนแผ่นดินก็จะลุกไหม้ไปทั้งโลก ถ้าจะโยนขึ้นไปบนอากาศ อากาศจะแห้งแล้งฟ้าฝนจะหายไปสิ้น ถ้าทิ้งลงไปในมหาสมุทร น้ำในมหาสมุทรจะแห้งแล้งไปเช่นกัน จึงสั่งให้ นางทั้ง 7 คน เอาพานมารองรับศีรษะ แล้วจึงตัดศรีษะส่งให้นางทุงษธิดาคนโต นางทุงษจึงเอาพานรับเศียรบิดาไว้แล้วแห่ประทักษิณรอบเขาพระสุเมรุ 60 นาที แล้วอัญเชิญไปไว้ในมณฑปถ้ำคันธุรลี เขาไกรลาส บูชาด้วยเครื่องทิพย์ พระเวสสุกรรมก็เนรมิตโรงประดับด้วยแก้ว 7 ประการ ชื่อภควดี ให้เป็นที่ประชุมเทวดา เทวดาทั้งปวงก็เอาเถาฉมูนวดลงมาล้างในสระอโนดาต 7 ครั้ง แล้วก็แจกกันเสวยทุกๆ องค์ ครั้นครบ 365 วัน โลกสมมุติว่าเป็นหนึ่งปีเป็นสงกรานต์ ธิดา 7 องค์ ของเท้ากบิลพรหมก็ผลัดเวรกันมาเชิญพระเศียรของพระบิดาออกแห่ประทักษิณรอบเขา พระสุเมรุทุกปี แล้วจึงกลับไปเทวโลก


ข้อมูลอ้าอิง / ที่มา ประวัติสงกรานต์ : http://www.banfun.com/buddha/w_chetupon.html
VN:F [1.1.8_518]

วันศุกร์ที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๑

ขอเชิญร่วมบริจาคสมทบทุนบูรณโบสถ์เก่า

เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2551 ได้มีโอกาสไปยังวัดสว่างอารมณ์ ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ถ้ามาจากสะพานป่าโมกจะอยู่เลยวัดป่าโมกประมาณ 1 กิโลเมตร ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่ง แต่ภายในวัดก็มิได้ปรากฏหลักฐานทางโบราณสถานที่สำคัญอะไร ก็เห็นมีเพียงโบสถ์เก่าอยู่หนึ่งหลัง ได้ทราบว่าทาวัดมีโครงการจะซ่อมแซมและบูรณให้ดียิ่งขึ้น จึงขอเรียนเชิญท่านผู้มีจิตศรัทธาร่วม บริจาคในการบูรณในครั้งนี้ โดยบริจาคได้ที่
วัดสว่างอารมณ์ ตำบลป่าโมก อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง



วันพุธที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๐

งานเททองหล่อพระศรีอริยเมตไตรย์

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 หลวงปู่ครูบาศรีเทพ ปัญญาวชิโร ได้กำหนดการเททองหล่อพระศรีอริยเมตไตรย์ พระอุปคุต พระบัวเข็ม ขึ้นที่วัดมหาดไทย ต.มหาดไทย อ.เมือง จ.อ่างทอง ในงานครั้งนี้ได้มีผู้ร่วมงานเป็นจำนวนมาก

วันจันทร์ที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๐

วัดป่าโมกวรวิหาร






วัดป่าโมกวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร ชาวบ้านเรียกว่าวัดใต้ท้่ายตลาด ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งอยู่ที่ เลขที่ ๑/ง ถนนป่าโมกราษฎร์บำรุง ตำบลป่าโมก อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง เป็นวัดมหานิกายอยู่ในเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลป่าโมก อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง ภาค ๒
พื้นที่และอาณาเขตวัดที่ดินที่ตั้งวัดป่าโมกวรวิหารเป็นที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา มีพื้นที่ตั้งวัดจำนวน ๗๖ ไร่ ๖๐ ตารางวา มีอาณาเขตดังนี้ ทิศเหนือ จดที่ดินจดที่ดินราษฎรหมู่บ้านเอกหลาด ยาว ๔๑๐ เมตรทิศใต้ จดถนนไปหมู่บ้านหัวกระบือและที่ดินราษฎร ยาว ๔๐๐ เมตรทิศตะวันออก จดแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ยาว ๔๐๐ เมตรทิศตะวันตก จดคันคลองส่งน้ำชลประทานป่าโมก - ผักไห่ ยาว ๔๓๖ เมตร
ประวัติวัดป่าโมกวรวิหารวัดป่าโมกวรวิหาร เป็นวัดโบราณไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้าง ในพงศวดารเหนือ กล่าวไว้ว่าสร้างในสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี
พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา รัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระกล่าวว่า"ลุศักราชได้ ๑๐๘๗ ปีมะเส็ง สัปตศก เจ้าอธิการวัดป่าโมกเข้ามาหาพระยาราชสงคราม แจ้งความว่า พระพุทธไสยาสน์วัดป่านั้นน้ำกัดเซาะตลิ่งพัง เข้ามาถึงพระวิหารแล้ว ยังอีกประมาณสักปีหนึ่ง พระพุทธไสยาสน์เห็นจะพังลงน้ำเสียแล้ว พระยาราชสงครามได้ฟังดังนั้นจึงเข้าไปกราบทูลพระกรุณาให้ ทราบเหตุแห่งพระพุทธไสยาสน์นั้นทุกประการ พระเจ้าอยู่หัวได้ทรงทราบดังนั้น จึงปรึกษาด้วยข้าราชการทั้งปวง มีเสนาบดีเป็นอาทิ ว่าจะรื้อพระพุทธไส- ยาสน์ไปก่อเอาใหม่จะดีหรือๆ จะชลอลากได้ จึงกลับมากราบทูลพระกรุณาว่า ข้าพระพุทธเจ้าของอาสาชลอลากพระพุทธไสยาสน์ให้ถึงที่อันควรให้จงได้ สมเด็จพระมหาอุปราชเฝ้าอยู่ที่นั้นด้วย ได้ทรงฟังดังนั้นไม่เห็นด้วยจึงตรัสว่าพระพุทธไสยาสน์นั้นพระองค์โตใหญ่นัก เห็นควรชลอลากไม่ได้กลัวจะแตก จะพัง เป็นการใหญ่มิใช่ของหล่อ ถ้าไม่มีอันตรายก็จะดีอยู่ ถ้ามีอันตรายแตกหักพังทลาย จะอายอัปยศแก่ไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ อำมาตย์เสนาข้าราชการ เสียพระเกียรติยศ จะลือชาปรากฏในอนาคตเป็นอันมาก ถ้าเราไปรื้อก่อใหม่ให้ดีงามกว่าเก่าเห็นจะง่ายดีอีก พระยาราชสงครามจึงกราบทูลพระกรุณาว่า ข้าพระพุทธเจ้าขออาสาชลอลากพระพุทธไสยาสน์มิให้แตกพังไปเป็นปกติถึงที่ใหม่อันสมควรให้จงได้ ถ้าและเป็นอันตรายขอถวายชีวิต สมเด็จพระเจ้า แผ่นดินก็ยังไม่วางพระทัย จึงดำรัสตรัสให้นิมนต์พระราชาคณะมาประชุมแล้วตรัสว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าทั้งปวง เราจะรื้อพระพุทธไสยาสน์ก่อใหม่ไว้ในที่ อันควร จะควรหรือมิควร พระบาลีจะมีประการใดบ้าง พระราชาคณะทั้งปวงถวายพระพรว่า พระองค์ไม่แตกหักพังวิปริตเป็นปกติดีอยู่นั้นจะรื้อไปก่อใหม่ไม่ ควร พระเจ้าแผ่นดินได้ทราบดังนั้น จึงตรัสสั่งให้พระยาราชสงครามคิดกระทำการชลอลากพระพุทธไสยาสน์นั้นลุศักราช ๑๐๘๘ ปีมะเมีย อัฐศก สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินเสด็จไปวัดป่าโมก ให้รื้อพระวิหารแล้วให้ตั้งตำหนักพลับพลาชัยใกล้วัดชีปะขาว ยับยั้งรั้ง แรม ๖ วันบ้าง ๗ วันบ้าง กับด้วยพระอนุชาธิราชกลับไปกลับมาให้กระทำการอยู่ ๓ วันบ้าง ๔ วันบ้าง แล้วกลับมาพระนคร พระยาราชสงครามเกณฑ์ให้ ข้าราชการไปตัดไม้ยางยาว ๑๔ วา ๑๕ วา หน้าใหญ่ศอกคืบบ้าง ให้ได้มากทำตะเฆ่สะดึงให้เลื่อยเป็นตัวไม้หน้าใหญ่ศอกหนึ่งหน้าน้อยคืบหนึ่งเป็นอันมาก ให้เอาเสาไม้ยาง ๓ กำ ๓ วา กลึงเป็นกง เลื่อกระดานหน้า ๒ นิ้ว จะปูพื้นทางจะลากตะเข้ไปนั้นให้ปราบให้เสมอทุบตีด้วยตะลุมพุกให้ราบเสมอให้ฝั่นเชือก น้อยใหญ่เป็นอันมาก แล้วให้เจาะฐานแท่นพระเจ้านั้นช่องกว้าศอกหนึ่ง เว้นไ้ว้ศอกหนึ่ง ช่องสูงคืบหนึ่ง เว้นไว้เป็นฟันปลาเอาตะเข้แอบเข้าทั้งสองข้าง ร้อยไม้ขวางทางที่แม่สะดึง แล้วสอดกะรดานหน้าคืบหนึ่งนั้นบนหลังตะเฆ่ ตลอดช่องแล้วจะขุดรื้ออิฐหว่างช่องกระดานที่เว้น ไว้เป็นฟันปลานั้นออกเสีย เอากระดานหน้านั้นสอดให้เต็มทุกช่อง และการผูกรัดร้อยรึงกระดึงทั้งปวงให้มั่นคงบริบูรณ์ ๕ เดือนสำเร็จแล้วทุกประการ ครั้นได้ศุภวารดิถีเพลาพิชัย มงคลฤกษ์ดีแล้ว ให้ชะลอลากตะเฆ่ที่ทรงพระพุทธไสยาสน์เข้าที่ อันจะกระทำพระวิหารนั้นได้สำเร็จบริบูรณ์ จึงทรงพระกรุณาโปรดให้พระยาราชสงคราม เลื่อนที่เป็นสมุหนายก สมเด็จพระมหากษัตริย์ให้ทำพระวิหารการเปรียญ โรงพระอุโอสถ พระเจดีย์ กุฎี ศาลา กำแพงและหอไตรฉนวน ๔๐ ห้อง หลังคา มุงกระเบื้อง และส้วมฐานสะพาน บันได ๕ ปีเศษจึงแล้ว ยังไม่ได้ฉลอง" สมเด็จพระเจ้าท้ายสระประชวรสวรรคต
ต่อมาเมื่อสมเด็จพระเจ้าบรมโกศได้ครองราชสมบัติ จึงโปรดให้ฉลองวัดป่าโมก ดังปรากฏในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาว่า"ลุศักราช ๑๐๙๖ ปีขาล ฉศก พระบาทสมเด็จพระบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว จึงมีพระราชดำรัสตรัสสั่งท้าวพระยามุขมนตรีทั้งหลายว่า วัดปาก โมกนั้นการทั้งปวงเสร็จบริบูรณ์แล้ว ให้จัดการฉลองและเครื่องสักการบูชาไว้ให้พร้อมสรรพ ครั้นถึงวิสาขมาสศุกลปักษ์ดฤถีพิชัยฤกษ์ สมเด็จพระพุทธเจ้า อยู่หัวก็เสด็จทรงเรือพระที่นั่งไกรสรมุขพิมาน อันอลังการด้วยเครื่องอภิรุมรัตนฉัตรชุมสาย บังแทรกสลอนสลับประดับด้วยเรือศีรษะสัตว์ดั้งสรรพอเนกนา วา ท้าวพระยาข้าทูลละอองทุลีพระบาท โดยเสด็จพระราชดำเนินแห่แหนตามกระบวนพยุหยาตราหน้าหลังเป็นแน่นขนัด เดียรดาษแดนอรรณพนธาร บรรลุ พลับพลาชัย ณ วัดชีปะขาว เสด็จขึ้นแท่นประทับในที่นั้นแล้ว เสด็จทรงพระราชยานดำเนินโดยสถลมารคถึงวักปากโมก ให้มีงานฉลอง พระสงฆ์สามร้อย รูปสวดพระพุทธมนต์ และรับพระราชทานฉัน ๓ วันแล้วทรงถวายไทยทาน ให้เล่นการมหรสพต่างๆ ถวายพุทธสมโภชครบตติวาร ณ ทุ่งนางฟ้าริมพระอา ราม ในวันเป็นที่สุดนั้นให้มีช้าบำรูกัน เพลาเย็นเกิดพายุใหญ่พัดโรงร้านและโรงทานหักล้มทำลายเป็นมหัศจรรย์ ครั้นเสร็จการสมโภชแล้ว ก็เสด็จโดยนาวา พยุหคืนเข้าพระมหานคร"
ในสมัยรัตนโกสินทร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๖ รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไ้ด้พระราชทานเงินแก่พระปลัดอิน เจ้าอาวาสวัดป่าโมก นำไป ปฏิสังขรณ์วัดป่าโมก เสร็จแล้วพระราชทานสมณศักดิ์พระปลัดอิน เป็นพระครูป่าโมกข์มุนี เสด็จฯมาถวายพระกฐินโดยเรือพระที่นั่งกลไฟ และทรงพระ กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถานาวัดป่าโมกขึ้นเป็นพระอารามหลวง ชั้นโท ชนิดวรวิหารพ.ศ. ๒๔๒๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งเสด็จประพาสมณฑลอยุธยา ได้เสด็จวัดไชโย อำเภอไชโย วัดขุนอินทประมูล อำเภอ โพธิ์ทอง และวัดป่าโมก อำเภอป่าโมก ทรงนมัสการพระพุทธไสยาสน์พ.ศ. ๒๔๒๖ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ ถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดป่าโมกวรวิหาร และทรงนมัสการพระพุทธไสยาสน์พ.ศ. ๒๔๔๔ วันที่ ๕ พฤศจิกายน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ คราวเสด็จพระราชดำเนินตรวจราชการหัวเมืองฝ่าย เหนือ ได้เสด็จทรงนมัสการพระพุทธไสยาสน์ ณ วัดป่าโมกวรวิหาร และทรงเห็นเบื้องหลังขององค์พระพุทธไสยาสน์มีรอยกรอบ เข้าใจว่าคงจะเป็นแผ่น ศิลาจารึกประวัติพระพุทธรูปนี้ไว้ แต่แผ่นศิลาจารึกได้หายไป น่าเสียดาย ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชา นุภาพเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ให้เอาใจใส่สืบประวัติองค์พระพุทธไสยาสน์มาให้ได้ ต่อมาพระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชคุปต์) อุปราชมณฑล กรุงเก่า ได้พบหนังสือคำโคลงกล่าวถึงการชะลอ พระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมก จำนวน ๖๙ บท และในบทที่ ๖๙ ระบุว่า ผู้แต่งคือสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ขณะดำรงพระยศเป็นพระราชวังบวร จึงนำขึ้นถวายสมเด็จในกรมเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยพ.ศ. ๒๔๔๙ ในการเสด็จประพาสต้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้สด็จฯ วัดป่าโมก ทรงฉายพระบรมรูปและนมัสการพระพุทธไส ยาสน์พ.ศ. ๒๔๖๐ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงนำศิลาจารึกโครงชลอพระพุทธไสยาสน์ จำนวน ๖๘ บท ซึ่งเป็นพระ ราชนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ขฯะดำรงพระยศเป็นเจ้ากรมพระราชวังบวร ไปประดิษฐานไว้ ณ เบื้องหลังพระพุทธไสยาสน์ วัดป่าโมกวรวิหาร จนกระ ทั่งถึงทุกวันนี้พ.ศ. ๒๔๙๘ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จทรงนมัสการสมเด็จ พระพุทธไสยาสน์ วัดป่าโมกวรวิหาร โดยทางเรือพ.ศ. ๒๕๑๙ วันที่ ๒๒ เมษายน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จฯ ทรงนมัสการพระพุทธไสยาสน์ วัดป่าโมกวรวิหารพ.ศ. ๒๕๑๙ วันที่ ๒๘ เมษายน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัคราชกุมารี ได้เสด็จฯ ทรงนมัสการกรพพุทธไสยาสน์ วัดป่าโมกวรวิหาร โดยรถยนต์พระที่นั่ง ได้พระราชทานยาสามัญประจำบ้านและปัจจัยจำนวน ๒๐,๐๐๐.๐๐ บาท (สองหมื่นบาทถ้าน) แก่พระราชสังวรวิ สุทธิ์ (แช่ม กิมพโล) เจ้าอาวาส เพื่อบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะต่างๆ ในพระอาราม พระราชสังวรวิสุทธิ์ได้ถวายพระพิมพ์สมเด็จรุ่นสร้างเขื่อนหน้าวัดป่าโมก วรวิหาร จำนวน ๑๐๐ องค์ และพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพมหานคร ๑ องค์ ฝากถวายสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร

วัดเยื้องคงคาราม


วัดเยื้องคงคาราม ตั้งอยู่เลขที่ 31 บ้านเยื้องคงคา หมู่ที่ 1 ตำบลเทวราช อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทอง สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 38 ไร่ 2 งาน 40 ตารางวา พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบ อาคารเสนาสนะต่าง ๆ มี อุโบสถกว้าง 7 เมตร ยาว 20 เมตร สร้าง พ . ศ . 2509 โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ศาลาการเปรียญกว้าง 10 เมตร ยาว 20 เมตร เป็นอาคารไม้ วิหารกว้าง 10 เมตร ยาว 10 เมตร เป็นอาคารคอนกรีต กุฎิสงฆ์ จำนวน 7 หลัง เป็นอาคารไม้ นอกจากนี้มี หอสวดมนต์ หอไตร หอระฆัง และฌาปนสถาน สำหรับปูชนียวัตถุมี พระประธานในอุโบสถ พระเพลากว้าง 4 ศอก สูง 6 ศอก สร้างด้วยหินสีแดง ชาวบ้านเรียก “ หลวงพ่อหิน ” เดิมประดิษฐาน อยู่ในที่ดินใกล้วัดสุขเกษม พระป่าเลไลยก์ ประดิษฐานอยู่ในวิหาร พระเพลากว้าง 3 ศอก สูง 4 วา 2 ศอก เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นมีอายุกว่า 100 ปี