วันพฤหัสบดีที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๐

วัดไชโยวรวิหาร

วัดไชโยวรวิหาร เป็นวัดสร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยกรุงเก่า ตั้งอยู่ในตำบลไชโย อำเภอไชโย จังหวัดอ่างทองบนฝั่งตะวันตก ของแม่น้ำเจ้าพระยา สุดเขตแดนเหนือของจังหวัดอ่างทอง ติดต่อกับตำบลพระงาม อำเภอพรหมบุรี จังหวัดสิงห์บุรี พื้นที่เป็น รูปสี่เหลี่ยมจตุรัสด้านละ 5 เส้นเศษเล็กน้อย มีเนื้อที่ 25 ไร่ 3 วา แต่ละด้านมีเสาศิลาขนาดใหญ่ปักไว้เป็นเขตวัด ต่อมาสมเด็จ พุฒาจารย์ ( โต ) ซึ่งเรียกกันทั่วๆ ไปว่า “ สมเด็จโต ” และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงเรียกว่า “ ขรัวโต ” ต่อมา เมื่อชาวบ้านได้รู้ว่า สมเด็จโตจะสร้างพระนั่งหน้าตักกว้างถึง 8 วา ในที่ที่พวกตนถางหาเงินนั้นก็พากันปิติยินดี แม้ว่าสมเด็จโตจะแจ้งให้ ้ทราบทั่วกันไปว่า ไม่ประสงค์ที่จะรบกวนชาวบ้าน เพราะท่านมีเงินที่จะสร้าง เพียงพออยู่แล้ว ก็ยังปรากฏว่าบรรดาผู้คนทั้งหลายแม้แต่พระบรมวงศานุวงก็พา กันร่วมบริจาคเงินทองร่วมด้วยเป็นอันมาก สมเด็จโตใช้เวลาเกือบสามปี พระพุทธรูปนั่งที่วัดไชโยจึงสำเร็จลง
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่5 ได้มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยารัตนบดินทร์ ให้ปฏิสังขรณ์วัดไชโยขึ้นใหม่หมดทั้งอาราม ในปีพุทธศักราช 2430 โดยมีการสร้างพระวิหารครอบองค์พระใหญ่ เสร็จสิ้นในปี 2437 รวมระยะเวลา 8 ปี แล้วทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ยกฐานะขึ้นเป็น พระอารามหลวงชนิดวรวิหารชั้นโท และ พระราชทานนามพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นใหม่ว่า “ พระมหาพุทธพิมพ์ ” และเรียกวัดไชโยว่า “ วัดไชโยวรวิหาร ” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบันได้เสร็จประพาส ณ วัดไชโยวรวิหาร เมื่อปีพุทธศักราช 2498 ซึ่งยังความปลื้มปิติเป็นล้นพ้นแก่ชาวเมืองอ่างทองเป็นที่ยิ่ง

0 ความคิดเห็น: