วันจันทร์ที่ ๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๐

วัดป่าโมกวรวิหาร






วัดป่าโมกวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร ชาวบ้านเรียกว่าวัดใต้ท้่ายตลาด ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งอยู่ที่ เลขที่ ๑/ง ถนนป่าโมกราษฎร์บำรุง ตำบลป่าโมก อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง เป็นวัดมหานิกายอยู่ในเขตปกครองคณะสงฆ์ตำบลป่าโมก อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง ภาค ๒
พื้นที่และอาณาเขตวัดที่ดินที่ตั้งวัดป่าโมกวรวิหารเป็นที่ราบลุ่มริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา มีพื้นที่ตั้งวัดจำนวน ๗๖ ไร่ ๖๐ ตารางวา มีอาณาเขตดังนี้ ทิศเหนือ จดที่ดินจดที่ดินราษฎรหมู่บ้านเอกหลาด ยาว ๔๑๐ เมตรทิศใต้ จดถนนไปหมู่บ้านหัวกระบือและที่ดินราษฎร ยาว ๔๐๐ เมตรทิศตะวันออก จดแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ยาว ๔๐๐ เมตรทิศตะวันตก จดคันคลองส่งน้ำชลประทานป่าโมก - ผักไห่ ยาว ๔๓๖ เมตร
ประวัติวัดป่าโมกวรวิหารวัดป่าโมกวรวิหาร เป็นวัดโบราณไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครเป็นผู้สร้าง ในพงศวดารเหนือ กล่าวไว้ว่าสร้างในสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี
พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา รัชกาลสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระกล่าวว่า"ลุศักราชได้ ๑๐๘๗ ปีมะเส็ง สัปตศก เจ้าอธิการวัดป่าโมกเข้ามาหาพระยาราชสงคราม แจ้งความว่า พระพุทธไสยาสน์วัดป่านั้นน้ำกัดเซาะตลิ่งพัง เข้ามาถึงพระวิหารแล้ว ยังอีกประมาณสักปีหนึ่ง พระพุทธไสยาสน์เห็นจะพังลงน้ำเสียแล้ว พระยาราชสงครามได้ฟังดังนั้นจึงเข้าไปกราบทูลพระกรุณาให้ ทราบเหตุแห่งพระพุทธไสยาสน์นั้นทุกประการ พระเจ้าอยู่หัวได้ทรงทราบดังนั้น จึงปรึกษาด้วยข้าราชการทั้งปวง มีเสนาบดีเป็นอาทิ ว่าจะรื้อพระพุทธไส- ยาสน์ไปก่อเอาใหม่จะดีหรือๆ จะชลอลากได้ จึงกลับมากราบทูลพระกรุณาว่า ข้าพระพุทธเจ้าของอาสาชลอลากพระพุทธไสยาสน์ให้ถึงที่อันควรให้จงได้ สมเด็จพระมหาอุปราชเฝ้าอยู่ที่นั้นด้วย ได้ทรงฟังดังนั้นไม่เห็นด้วยจึงตรัสว่าพระพุทธไสยาสน์นั้นพระองค์โตใหญ่นัก เห็นควรชลอลากไม่ได้กลัวจะแตก จะพัง เป็นการใหญ่มิใช่ของหล่อ ถ้าไม่มีอันตรายก็จะดีอยู่ ถ้ามีอันตรายแตกหักพังทลาย จะอายอัปยศแก่ไพร่ฟ้าประชาราษฎร์ อำมาตย์เสนาข้าราชการ เสียพระเกียรติยศ จะลือชาปรากฏในอนาคตเป็นอันมาก ถ้าเราไปรื้อก่อใหม่ให้ดีงามกว่าเก่าเห็นจะง่ายดีอีก พระยาราชสงครามจึงกราบทูลพระกรุณาว่า ข้าพระพุทธเจ้าขออาสาชลอลากพระพุทธไสยาสน์มิให้แตกพังไปเป็นปกติถึงที่ใหม่อันสมควรให้จงได้ ถ้าและเป็นอันตรายขอถวายชีวิต สมเด็จพระเจ้า แผ่นดินก็ยังไม่วางพระทัย จึงดำรัสตรัสให้นิมนต์พระราชาคณะมาประชุมแล้วตรัสว่า ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าทั้งปวง เราจะรื้อพระพุทธไสยาสน์ก่อใหม่ไว้ในที่ อันควร จะควรหรือมิควร พระบาลีจะมีประการใดบ้าง พระราชาคณะทั้งปวงถวายพระพรว่า พระองค์ไม่แตกหักพังวิปริตเป็นปกติดีอยู่นั้นจะรื้อไปก่อใหม่ไม่ ควร พระเจ้าแผ่นดินได้ทราบดังนั้น จึงตรัสสั่งให้พระยาราชสงครามคิดกระทำการชลอลากพระพุทธไสยาสน์นั้นลุศักราช ๑๐๘๘ ปีมะเมีย อัฐศก สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินเสด็จไปวัดป่าโมก ให้รื้อพระวิหารแล้วให้ตั้งตำหนักพลับพลาชัยใกล้วัดชีปะขาว ยับยั้งรั้ง แรม ๖ วันบ้าง ๗ วันบ้าง กับด้วยพระอนุชาธิราชกลับไปกลับมาให้กระทำการอยู่ ๓ วันบ้าง ๔ วันบ้าง แล้วกลับมาพระนคร พระยาราชสงครามเกณฑ์ให้ ข้าราชการไปตัดไม้ยางยาว ๑๔ วา ๑๕ วา หน้าใหญ่ศอกคืบบ้าง ให้ได้มากทำตะเฆ่สะดึงให้เลื่อยเป็นตัวไม้หน้าใหญ่ศอกหนึ่งหน้าน้อยคืบหนึ่งเป็นอันมาก ให้เอาเสาไม้ยาง ๓ กำ ๓ วา กลึงเป็นกง เลื่อกระดานหน้า ๒ นิ้ว จะปูพื้นทางจะลากตะเข้ไปนั้นให้ปราบให้เสมอทุบตีด้วยตะลุมพุกให้ราบเสมอให้ฝั่นเชือก น้อยใหญ่เป็นอันมาก แล้วให้เจาะฐานแท่นพระเจ้านั้นช่องกว้าศอกหนึ่ง เว้นไ้ว้ศอกหนึ่ง ช่องสูงคืบหนึ่ง เว้นไว้เป็นฟันปลาเอาตะเข้แอบเข้าทั้งสองข้าง ร้อยไม้ขวางทางที่แม่สะดึง แล้วสอดกะรดานหน้าคืบหนึ่งนั้นบนหลังตะเฆ่ ตลอดช่องแล้วจะขุดรื้ออิฐหว่างช่องกระดานที่เว้น ไว้เป็นฟันปลานั้นออกเสีย เอากระดานหน้านั้นสอดให้เต็มทุกช่อง และการผูกรัดร้อยรึงกระดึงทั้งปวงให้มั่นคงบริบูรณ์ ๕ เดือนสำเร็จแล้วทุกประการ ครั้นได้ศุภวารดิถีเพลาพิชัย มงคลฤกษ์ดีแล้ว ให้ชะลอลากตะเฆ่ที่ทรงพระพุทธไสยาสน์เข้าที่ อันจะกระทำพระวิหารนั้นได้สำเร็จบริบูรณ์ จึงทรงพระกรุณาโปรดให้พระยาราชสงคราม เลื่อนที่เป็นสมุหนายก สมเด็จพระมหากษัตริย์ให้ทำพระวิหารการเปรียญ โรงพระอุโอสถ พระเจดีย์ กุฎี ศาลา กำแพงและหอไตรฉนวน ๔๐ ห้อง หลังคา มุงกระเบื้อง และส้วมฐานสะพาน บันได ๕ ปีเศษจึงแล้ว ยังไม่ได้ฉลอง" สมเด็จพระเจ้าท้ายสระประชวรสวรรคต
ต่อมาเมื่อสมเด็จพระเจ้าบรมโกศได้ครองราชสมบัติ จึงโปรดให้ฉลองวัดป่าโมก ดังปรากฏในพระราชพงศาวดารฉบับพระราชหัตถเลขาว่า"ลุศักราช ๑๐๙๖ ปีขาล ฉศก พระบาทสมเด็จพระบรมบพิตรพระพุทธเจ้าอยู่หัว จึงมีพระราชดำรัสตรัสสั่งท้าวพระยามุขมนตรีทั้งหลายว่า วัดปาก โมกนั้นการทั้งปวงเสร็จบริบูรณ์แล้ว ให้จัดการฉลองและเครื่องสักการบูชาไว้ให้พร้อมสรรพ ครั้นถึงวิสาขมาสศุกลปักษ์ดฤถีพิชัยฤกษ์ สมเด็จพระพุทธเจ้า อยู่หัวก็เสด็จทรงเรือพระที่นั่งไกรสรมุขพิมาน อันอลังการด้วยเครื่องอภิรุมรัตนฉัตรชุมสาย บังแทรกสลอนสลับประดับด้วยเรือศีรษะสัตว์ดั้งสรรพอเนกนา วา ท้าวพระยาข้าทูลละอองทุลีพระบาท โดยเสด็จพระราชดำเนินแห่แหนตามกระบวนพยุหยาตราหน้าหลังเป็นแน่นขนัด เดียรดาษแดนอรรณพนธาร บรรลุ พลับพลาชัย ณ วัดชีปะขาว เสด็จขึ้นแท่นประทับในที่นั้นแล้ว เสด็จทรงพระราชยานดำเนินโดยสถลมารคถึงวักปากโมก ให้มีงานฉลอง พระสงฆ์สามร้อย รูปสวดพระพุทธมนต์ และรับพระราชทานฉัน ๓ วันแล้วทรงถวายไทยทาน ให้เล่นการมหรสพต่างๆ ถวายพุทธสมโภชครบตติวาร ณ ทุ่งนางฟ้าริมพระอา ราม ในวันเป็นที่สุดนั้นให้มีช้าบำรูกัน เพลาเย็นเกิดพายุใหญ่พัดโรงร้านและโรงทานหักล้มทำลายเป็นมหัศจรรย์ ครั้นเสร็จการสมโภชแล้ว ก็เสด็จโดยนาวา พยุหคืนเข้าพระมหานคร"
ในสมัยรัตนโกสินทร์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๖ รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ไ้ด้พระราชทานเงินแก่พระปลัดอิน เจ้าอาวาสวัดป่าโมก นำไป ปฏิสังขรณ์วัดป่าโมก เสร็จแล้วพระราชทานสมณศักดิ์พระปลัดอิน เป็นพระครูป่าโมกข์มุนี เสด็จฯมาถวายพระกฐินโดยเรือพระที่นั่งกลไฟ และทรงพระ กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถานาวัดป่าโมกขึ้นเป็นพระอารามหลวง ชั้นโท ชนิดวรวิหารพ.ศ. ๒๔๒๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งเสด็จประพาสมณฑลอยุธยา ได้เสด็จวัดไชโย อำเภอไชโย วัดขุนอินทประมูล อำเภอ โพธิ์ทอง และวัดป่าโมก อำเภอป่าโมก ทรงนมัสการพระพุทธไสยาสน์พ.ศ. ๒๔๒๖ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ ถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดป่าโมกวรวิหาร และทรงนมัสการพระพุทธไสยาสน์พ.ศ. ๒๔๔๔ วันที่ ๕ พฤศจิกายน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ คราวเสด็จพระราชดำเนินตรวจราชการหัวเมืองฝ่าย เหนือ ได้เสด็จทรงนมัสการพระพุทธไสยาสน์ ณ วัดป่าโมกวรวิหาร และทรงเห็นเบื้องหลังขององค์พระพุทธไสยาสน์มีรอยกรอบ เข้าใจว่าคงจะเป็นแผ่น ศิลาจารึกประวัติพระพุทธรูปนี้ไว้ แต่แผ่นศิลาจารึกได้หายไป น่าเสียดาย ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชา นุภาพเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ให้เอาใจใส่สืบประวัติองค์พระพุทธไสยาสน์มาให้ได้ ต่อมาพระยาโบราณราชธานินทร์ (พร เดชคุปต์) อุปราชมณฑล กรุงเก่า ได้พบหนังสือคำโคลงกล่าวถึงการชะลอ พระพุทธไสยาสน์วัดป่าโมก จำนวน ๖๙ บท และในบทที่ ๖๙ ระบุว่า ผู้แต่งคือสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ขณะดำรงพระยศเป็นพระราชวังบวร จึงนำขึ้นถวายสมเด็จในกรมเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยพ.ศ. ๒๔๔๙ ในการเสด็จประพาสต้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้สด็จฯ วัดป่าโมก ทรงฉายพระบรมรูปและนมัสการพระพุทธไส ยาสน์พ.ศ. ๒๔๖๐ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงนำศิลาจารึกโครงชลอพระพุทธไสยาสน์ จำนวน ๖๘ บท ซึ่งเป็นพระ ราชนิพนธ์สมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ขฯะดำรงพระยศเป็นเจ้ากรมพระราชวังบวร ไปประดิษฐานไว้ ณ เบื้องหลังพระพุทธไสยาสน์ วัดป่าโมกวรวิหาร จนกระ ทั่งถึงทุกวันนี้พ.ศ. ๒๔๙๘ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จทรงนมัสการสมเด็จ พระพุทธไสยาสน์ วัดป่าโมกวรวิหาร โดยทางเรือพ.ศ. ๒๕๑๙ วันที่ ๒๒ เมษายน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จฯ ทรงนมัสการพระพุทธไสยาสน์ วัดป่าโมกวรวิหารพ.ศ. ๒๕๑๙ วันที่ ๒๘ เมษายน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัคราชกุมารี ได้เสด็จฯ ทรงนมัสการกรพพุทธไสยาสน์ วัดป่าโมกวรวิหาร โดยรถยนต์พระที่นั่ง ได้พระราชทานยาสามัญประจำบ้านและปัจจัยจำนวน ๒๐,๐๐๐.๐๐ บาท (สองหมื่นบาทถ้าน) แก่พระราชสังวรวิ สุทธิ์ (แช่ม กิมพโล) เจ้าอาวาส เพื่อบูรณปฏิสังขรณ์เสนาสนะต่างๆ ในพระอาราม พระราชสังวรวิสุทธิ์ได้ถวายพระพิมพ์สมเด็จรุ่นสร้างเขื่อนหน้าวัดป่าโมก วรวิหาร จำนวน ๑๐๐ องค์ และพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพมหานคร ๑ องค์ ฝากถวายสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร

2 ความคิดเห็น:

oswasdi กล่าวว่า...

เป็นบันทึกทางประวัติศาสตร์ที่ได้อรรถรสมาก สะท้อนให้เห็นถึงความหวงแหนปูชนียสถานทางพระพุทธศาสนาของพระมหากษัตริย์และเสนาอำมาตย์ในรัชสมัยอยุธยาที่ทรงรักษาสมบัติล้ำค้าของชาติเพื่อความเป็นไทยคงอยุ่ให้อนุชนรุ่นต่อๆไปรักษาไว้ ขอบคุณในความตั้งใจค้นคว้าและเผยแพร่ครับ

Unknown กล่าวว่า...

พระพุทธไสยาสน์ ที่นี่ สุดยอดมากครับ สมคำร่ำลือจริงๆ วังมัจฉาที่หน้าวัดก็ สวยสุดยอด ปลามากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ จิงๆ แพปลาสวยมากครับ
อีกอย่างนึง คือพระอาจารย์แมว เก่งสุดๆ ครับ

จาก.. เด็กกทม.ใกล้ๆนี้เอง