วันพฤหัสบดีที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๐

วัดมหานาม







วัดมหานาม ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณเยื้องกับวัดไชโยวรวิหาร ลงไปทางทิศใต้เล็กน้อย มีเนื้อที่ตั้งวัดอยู่ประมาณ 30 ไร่เศษอยู่ในเขตตำบลไชยภูมิ อำเภอไชโย มีประชาชนจากเขตหมู่บ้านมาทำบุญ ทำกุศลที่วัดเป็นจำนวน 3 หมู่บ้านด้วยกัน เขตติดต่อท้องที่หมู่ 3 หมู่ 4 และหมู่ 8 มีประชาชนรวมประมาณ 700 คนเศษ วัดนี้สร้างมาตั้งแต่สมัยใดนั้น มิได้มีหลักฐานปรากฏชัด ทราบจากผู้หลักผู้ใหญ่ที่เกิดในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เล่าสืบ ๆ กันต่อ ๆ มาว่า “ วัดมหานาม “ นี้ นามเดิมเรียกกันว่าวัดอินทราราม ต่อมาได้มีพระภิกษุสงฆ์รูปหนึ่ง นามว่าพระมหาระนาม ได้มาจำพรรษาอยู่ที่วัดนี้ และได้ดำเนินการก่อสร้างกุฏิสงฆ์และศาลาบำเพ็ญบุญขึ้น พร้อมทั้งยังได้ชักชวนพระภิกษุจากอารามอื่นให้มาอยู่ ่จำพรรษาอยู่ที่นี่ ประกอบกับชาวบ้านได้ทำการอุปสมบทและอยู่จำพรรษาที่วัดนี้ ประชาขนได้รับความสะดวกสบายในการบำเพ็ญบุญ บำเพ็ญกุศล โดยไม่ต้องไปอาศัยวัดอื่น ๆ ซึ่งอยู่ห่างออกไปเป็นระยะทางไกลมาก จนชาวบ้านได้ร่วมกันขนานนามวัดเพิ่มเติมจากชื่อของเก่าเดิม เป็น “ วัดอินทรารามนามมหา” ต่อมาภายหลัง ชาวบ้านเห็นว่าสร้อยที่ต่อท้ายนามวัดใหม่นี้เรียกยาก และลำบากในการกล่าวจึงเปลี่ยนชื่อให้ใหม่ ให้สั้นและกระชับ โดยเรียกกันติดปากมาจนทุกวันนี้ว่า “ วัดมหานาม” ตามประวัติศาสตร์สมัยกรุงศรีอยุธยา รัชสมัยของสมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช ราว พ.ศ. 2127 – 2128 มีเรื่องที่ได้รับการบันทึกไว้ว่า “ มีข้าศึกได้แก่ พระเจ้ากรุงเชียงใหม่ เป็นทัพหลวง มี สะเรนันทสู เป็นทัพหน้า ได้ยกกองทัพลงมาตั้งอยู่ที่บ้านบางแก้ว (อ.เมืองอ่างทอง จ.อ่างทอง) สมเด็จพระนเรศวรทรงทราบความ จึงรับสั่งให้สมเด็กพระเอกาทศรถ พระอนุชา ฯ เสด็จเป็นทัพหน้า ส่วนพระองค์ (สมเด็จพระนเรศวร) เป็นทัพหลวง ยกพลจากกรุงศรีอยุธยามาตั้งกำลังพลอยู่ที่บ้านป่าโมก แล้วแต่งทัพยกไปตีทัพของพระเจ้าเชียงใหม่ และทัพของสะเรนันทสูที่บ้านบางแก้ว จนกระทั่งทัพของข้าศึกถอยร่นไปถึงบ้านชะไว (ต.ชะไว อ.ไชโย)จนได้รับชัยชนะแก่ข้าศึกที่บ้านชะไวจนทัพของข้าศึกแตกกระจาย พ่ายแพ้หลบหนีไป สามารถฆ่าแม่ทัพของทัพข้าศึกได้ถึง 7 คนและสามารถยึดช้างได้ถึง 120 เชือก ม้า 100 ตัว เรือรบและเรือเสบียง ได้ถึง 400 ลำ ที่บ้านไชยภูมิ แล้วต่อมาสมเด็จพระนเรศวรทรงเสด็จยกกองทัพไล่ติดตามข้าศึก จนกระทั่งเดินทางมาถึงบ้านสระเกษทรงพักทัพ และทรงสรง พระวรกาย และ สระเกศาที่นั้น และทรงตั้งทัพพักแรมที่วัดยิงพรุ (ปัจจุบันเป็นวัดร้าง ชาวบ้านเรียกกันติดปากว่า วัดท้องครุ) ซึ่งอยู่เหนือบ้านสระเกษไปทางทิศเหนือราว ๆ 1 กิโลเมตรโดยประมาณ ทรงรับสั่งให้สมเด็จพระเอกาทศรถเฝ้าระวังทัพอยู่ ณ ที่นี้ ส่วน พระองค์ทรงเสด็จแยกไปตั้งค่ายอยู่เหนือจากบริเวณวัดยิงพรุไปทางทิศเหนือประมาณ1 กม. (ปัจจุบันนั้นก็คือที่ตั้งของวัดมหานาม)ครั้นเมื่อสมเด็จพระนเรศวรได้ทรงยกกองทัพกลับไปแล้ว ชาวบ้านแถว ๆ นั้น ได้ร่วมกันทำการจัดสร้างพระพุทธรูปปูนปั้นขึ้น 1 องค์ ตรงบริเวณที่สมเด็จพระนเรศวรทรงประทับแรมแทนสมเด็จพระนเรศวรเพื่อไว้สักการะบูชา ขนานนามพระพุทธรูปองค์นี้ว่า “หลวงพ่อขาว” มาจนตราบเท่าทุกวันนี้ อีกประการหนึ่ง ที่เรียกว่าหลวงพ่อขาวนั้น ใช้เรียกแทนพระนามของสมเด็จพระนเรศวรขณะประทับแรมอยู่ ณ ที่นั้น ซึ่งในระยะเวลาที่เดือนหงายชาวบ้านกลับมองเห็นพระวรกายขององค์สมเด็จพระนเรศวรเป็นสีขาว จึงเรียกว่า “หลวงพ่อขาว” โดยถือนิมิตในการเห็นพระวรกายเป็นสีขาวในเวลากลางคืน
ต่อมา ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้ทรงเสด็จเพื่อไปรับช้างเผือกที่เชียงใหม่ ชื่อว่า “พลายพระยาปัจจะเวก” อันถือว่าเป็นช้างคู่บ้าน คู่เมืองในสมัยนั้นในเวลาที่ทรงเสด็จกลับได้ทรงประทับแรมค้างคืนอยู่ ณ บริเวณใต้ต้นมะม่วงกะร่อน พร้อมกับพลายพระยาปัจจะเวกด้วย ซึ่งเป็นบริเวณเดียวกันกับที่ประดิษฐานขององค์หลวงพ่อขาว ในระหว่างที่พรองค์ทรงเสด็จประทับค้างแรมอยู่ ณ บริเวณนั้นได้มีชาวบ้านมาเฝ้าชมพระบารมี และชื่นชมช้างคู่บุญบารมี เป็นจำนวนมาก พร้อมกับทั้งได้แสดงเพลงพื้นบ้านถวายให้ทอดพระเนตรด้วย ขณะที่ทรงประทับแรมอยู่นั้น ในเวลากลางคืน สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงได้ทรงเสด็จพระราชดำเนินไปนมัสการสักการะองค์หลวงพ่อขาว และทรงตรัสชมว่า “หลวงพ่อขาวองค์นี้ ขาวดีมาก” สาเหตุที่ทรงตรัสชมเช่นนั้นคงจะเป็นเพราะว่าคืนเดือนหงาย แสงสว่างคงจะส่องต้ององค์หลวงพ่อขาวให้แลดูงามขึ้น ชาวบ้านจึงได้ถือเอานามนี้มาขนานนามองค์หลวงพ่อว่าหลวงพ่อขาว เรื่อยมาตราบเท่าทุกวันนี้ หลวงพ่อขาวนี้ นับได้ว่าเป็นพระพุทธรูปที่เก่าแก่และมีความศักดิ์สิทธิ์มากองค์หนึ่งของพื้นที่ มีประชาชนที่เคารพเลื่อมใสได้มาสักการะบูชา และกราบนมัสการกันมิได้ขาดตลอดทั้งที่ผู้มาทำพิธีแก้บนกันแทบจะทุกวัน จนทำให้หลวงพ่อมีชื่อเสียงโด่งดังไปหลายจังหวัด มีประชาชนหลั่งไหล มายังวัดมหานามเพื่อนมัสการหลวงพ่อกันมากขึ้นเป็นลำดับเลื่อยมาฯวัดมหานาม ได้จัดงานนมัสการปิดทองหลวงพ่อขาวขึ้นเป็นประจำทุกปี จะอยู่ในระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน
















0 ความคิดเห็น: